รู้หรือไม่ว่า ก่อนที่เราจะสร้างบ้านแต่ละหลังได้ต้อง “ขออนุญาตก่อสร้าง” ก่อนนะ แล้วถ้าเกิดสร้างไปแล้ว แต่ไม่ได้ขออนุญาตล่ะจะเกิดอะไรขึ้น! วันนี้แบบบ้านเพื่อประชาชน มีบทความเกี่ยวกับการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน มาฝากทุกคนกันค่ะ มาดูกันว่า ขั้นตอนในการจัดการจะมีอะไรบ้าง บทลงโทษสำหรับคนที่สร้างบ้าน โดยไม่ได้ขออนุญาตจะเป็นยังไง มาร่วมไขคำตอบในบทความนี้กันเลยค่ะ
การ “ขออนุญาตก่อสร้าง” คืออะไร?
ก่อนที่จะสร้างบ้าน สิ่งที่ต้องทำคือ การยื่นเอกสารขออนุญาตก่อสร้าง จากทางเขต เทศบาล หรืออบต.ในพื้นที่นั้นๆ และต้องได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง เพื่อแสดงว่าได้รับอนุญาตในการก่อสร้างบ้านพักอาศัย ในพื้นพื้นที่นั้น ๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ”
ไม่ขออนุญาตก่อสร้าง ได้ไหม?
การดำเนินการก่อสร้าง แม้จะดำเนินการปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของตนเอง แต่หากไม่ได้ดำเนินการขออนุญาตก่อสร้าง จะถือว่าเป็นการกระทำผิดต่อกฏหมายและมีบทลงโทษ ดังนี้
- มาตรา 40 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ หยุดการก่อสร้าง ห้ามใช้ หรือ ห้ามเข้าไปในที่ก่อสร้าง พร้อมกับสั่งให้ทำการขออนุญาต หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน
- มาตรา 42 หากไม่ดำเนินขออนุญาตก่อสร้างให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วน ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน
- มาตรา 65 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังปรับเป็นรายวัน วันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะทำการขออนุญาตให้ถูกต้อง
- มาตรา 66 หากไม่มีการดำเนินการรื้อถอนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 42 จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังปรับเป็นรายวัน วันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง
ขั้นตอนในการขออนุญาตก่อสร้าง
ขั้นตอนในการขออนุญาตก่อสร้าง
1. เตรียมเอกสาร
- สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประชาชน
- ใบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (ข.๑)
- สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประชาชน
- หนังสือรับรองการเป็นเจ้าของที่ดิน (โฉนดที่ดิน)
- ใบรับรองจากสถาปนิก/วิศวกร
- แบบแปลนบ้าน (เขียนโดยสถาปนิก/วิศวกร) ซึ่งประกอบไปด้วย
- แบบโครงสร้าง
- แบบสถาปัตย์
- แบบไฟฟ้า
- แบบประปา / สุขาภิบาล
- ลงผังบริเวณ
- รายการคำนวนโครงสร้างอาคาร (BOQ)
2. ยื่นเอกสารที่สำนักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่ ที่ตั้งสถานที่ก่อสร้าง รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารแบบแปลน
3. รับเอกสารอนุญาตก่อสร้าง ( เอกสารอนุญาตก่อสร้าง โดยทั่วไปใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วัน )
คำแนะนำ : การออกแบบบ้านและสร้างบ้าน ควรปรึกษาสถาปนิก/วิศวกร และเผื่อเวลาในการขอใบอนุญาตก่อสร้าง
ก่อที่จะสร้างบ้าน อาคารพาณิจย์ หรือสร้างอาคารต่าง ๆ จะต้องขออนุญาตก่อสร้างก่อนเสมอ และสำหรับใครที่กำลังมองหาแบบบ้าน แบบบ้านสำเร็จรูป ก็สามารถเข้าชมบ้านสวย ๆ ของเราได้ที่ แบบบ้านเพื่อประชาชน แบบบ้านที่ออกแบบได้มาตรฐานครบ สามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างได้เลย
เว็บไซต์แบบบ้านสำเร็จรูป รวมแบบบ้านสำเร็จรูปพร้อมสร้าง หลากหลายรูปแบบ หลากหลายสไตล์ ในงบประมาณที่ท่านต้องการ ให้ท่านได้เลือกตามความต้องการ ทั้งแบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์โมเดิร์น แบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์ปั้นหยา แบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์มินิมอล แบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์นอร์ดิก แบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์ทรงกล่อง แบบบ้านสำเร็จรูปประหยัดงบประมาณ แบบบ้านงบไม่เกินล้าน พร้อมฟังก์ชันการใช้งาน ที่หลากหลายรูปแบบ และมีทั้งแบบที่มีโรงจอดรถในตัว
สามารถค้นหาแบบบ้านสำเร็จรูป ตามงบประมาณของท่าน ตามแบบตามสไตล์ที่ท่านต้องการ และตามแบบแปลนที่ท่านชื่นชอบ แบบบ้านสำเร็จรูปทุกหลัง ได้รับการออกแบบ จากทีมงานมืออาชีพ พร้อมเอกสารรับรองได้ที่ แบบบ้านเพื่อประชาชน