หน้าแรก » 💡เรื่องที่ต้องรู้ก่อนมีบ้าน » ฉนวนกันความร้อน ไอเทมดี ๆ ที่ช่วยเซฟค่าไฟบ้าน

ฉนวนกันความร้อน ไอเทมดี ๆ ที่ช่วยเซฟค่าไฟบ้าน

ฉนวนกันความร้อน หนึ่งในไอเทมยอดนิยมที่จะช่วยให้บ้านเย็นขึ้น จากแสงอาทิตย์ที่แสนเจิดจ้าในช่วงเช้า ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรา ซึ่งตัวฉนวนกันร้อนเองก็มีให้เลือกหลายหลายรูปแบบหลายหลายราคา ให้ผู้เป็นเจ้าของบ้านได้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพัก โรงงาน หรือออฟฟิศ ก็สามารถเลือกได้ตามความต้องการ แล้วฉนวนกันความร้อนมีกี่แบบ ติดตั้งแบบไหนได้บ้าง วันนี้แบบบ้านเพื่อประชาชนของเราได้รวบรวมมาไว้ที่นี่ให้แล้วค่ะ

ฉนวนกันความร้อน ไอเทมดี ๆ ที่ช่วยเซฟค่าไฟบ้าน

ฉนวนกันความร้อน คืออะไร?

      ฉนวนกันความร้อน (Insulation) คือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนไม่ให้ส่งผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง หรือส่งผ่านให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งลักษณะของแผ่นฉนวนกันความร้อน คือจะมีน้ำหนักที่เบา เพราะภายในประกอบด้วยฟองอากาศขนาดเล็กวางตัวกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในแผ่นฉนวน นั่นจึงทำให้ความร้อนที่ผ่านเข้ามา จะถูกฟองอากาศเหล่านี้สกัดกั้นความร้อนให้อยู่ภายในฟองอากาศ นิยมนำไปติดภายในอาคารบ้านเรือน และโรงงาน เพื่อให้ภายในสิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีอุณหภูมิที่เย็นตัวลง นอกจากนี้ฉนวนกันความร้อน ยังมีหลากหลายความหนาให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของอาคารนั้น ๆ เช่น

      • พอลิยูรีเทนโฟม (PU Foam)
      • ฉนวนใยแก้ว (Fiberglass)
      • พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ (Polyethylene Bubble Foil)
      • พอลิเอทิลีนโฟม (PE Foam)
      • อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)

1. ฉนวนกันความร้อนชนิดพอลิยูรีเทนโฟม (PU Foam)

ฉนวนกันความร้อน พอลิยูรีเทนโฟม

        ฉนวนกันความร้อนชนิดนี้ มักจะใช้ “ฉีดพ่น” ไว้ที่บริเวณใต้แผ่นหลังคาเมทัลชีท และจะมีฟอยล์ปิดทับชั้นล่างอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งการใช้ฉนวนกันร้อนชนิดโฟมนี้จะช่วยสะท้อนความร้อนออกจากบ้านได้ทันที ไม่เก็บสะสมความร้อนไว้ที่ใต้หลังคา และฉนวนกันความร้อนบางชนิดยังสามารถใช้พ่นพื้นผิวนอกอาคารได้ด้วย จึงเหมาะกับพื้นที่ที่มีความซับซ้อน หรือยากต่อการปูฉนวนชนิดแผ่น แต่การพ่นฉนวนกันความร้อนชนิดโฟมนี้ จำเป็นที่จะต้องพ่นด้วยช่างที่มีความเชี่ยวชาญและเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น

2. ฉนวนกันความร้อนชนิดใยแก้ว (Fiberglass)

ฉนวนกันความร้อน ฉนวนใยแก้ว

 

        ฉนวนแบบใยแก้ว เป็นฉนวนกันความร้อนที่ถูกใช้มาอย่างยาวนาน ลักษณะของฉนวนชนิดนี้ จะเป็นเส้นใยแผ่นหนาที่ถูกหุ้มด้วยฟอยล์ ซึ่งฟอยล์นี้จะ “ทำหน้าที่ในการสะท้อนความร้อนออกไปนอกตัวบ้าน” และหากยังมีความร้อนหลงเหลืออยู่กูจะถูกเก็บเอาไว้ในเส้นใยข้างใต้แทน ซึ่งในปัจจุบันฉนวนกันความร้อนชนิดนี้ไม่ได้รับความนิยมเท่าไรนัก เนื่องจากเมื่อมีการเสื่อมสภาพของฉนวน มักจะมีละอองสารพิษระเหยหลงเหลือเอาไว้ ซึ่งเป็นสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเจ้าของบ้าน อีกทั้งเมื่อฉนวนชนิดนี้ถูกเผาไหม้จะมีลักษณะของแก็สพิษกระจายออกมา และอีกปัญหาที่มักพบคือมีสัตว์ตัวเล็กมาทำรังเพื่ออยู่อาศัย เนื่องจากมีลักษณะที่อุ่นและอ่อนนุ่ม

3. ฉนวนกันความร้อนชนิดพอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ (Polyethylene Bubble Foil)

ฉนวนกันความร้อน พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์

       เป็นฉนวนที่ “มีลักษณะคล้ายแผ่นพลาสติกกันกระแทก” ที่มีมวลอากาศอยู่ตรงกลาง แต่จะมีแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ประกบทั้ง 2 ด้าน มวลอากาศตรงกลางจะทำหน้าที่ป้องกันความร้อน ส่วนอลูมิเนียมฟอยด์ จะทำหน้าที่สะท้อนความร้อนออกไป ข้อควรระวังอย่างหนึ่งของฉนวนกันความร้อนนี้คือ ตัวฟอยด์ปิดผิวเมื่อฉีกขาดจนถึงเนื้อด้านใน เมื่อเกิดประกายไฟขึ้น จะทำให้เกิดการลุกลามของไฟได้ เนื่องจากฉนวนทำมาจากพลาสติก ซึ่งฉนวนชนิดนี้สามารถติดตั้งได้หลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณโครงสร้างใต้หลังคาบนแป ใต้แป ใต้จันทัน หรือจะปูบนฝ้าเพดาน

4. ฉนวนกันความร้อนชนิดพอลิเอทิลีนโฟม (PE Foam)

ฉนวนกันความร้อน พอลิเอทิลีนโฟ

        ฉนวนกันความร้อนชนิดนี้ มีลักษณะเป็นแผ่นโฟมเหนียวนุ่ม มีแผ่นฟอยล์บาง ๆ หุ้มผิวเอาไว้ สามารถทนความร้อนได้ดี และมีน้ำหนักเบา ทั้งยังทนต่อแรงกระแทก ที่สำคัญยังทนต่อแรงกัดกร่อนได้ดี นิยมใช้ในโรงงานเพราะมีเนื้อที่บนหลังคามาก จึงสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว โดยฉนวนกันความร้อนชนิดนี้จะมีให้เลือกหลายความหนา ตั้งแต่ 3 มิลิเมตร จนถึง 10 มิลลิเมตร แต่ที่เป็นที่นิยมคือขนาด 5 มิลลิเมตร

5. ฉนวนกันความร้อนชนิดอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil)

ฉนวนกันความร้อน อะลูมิเนียมฟอยล์

        ลักษณะของฉนวนชนิดนี้เป็นแผ่นฟอยล์ 2 หน้าบาง ๆ ที่ทำหน้าที่สะท้อนความร้อน โดยสามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้สูงสุด 97% สามารถเลือกได้ว่าจะติดบนแปหรือใต้แปบริเวณโครงหลังคา แต่เนื่องจากเป็นแผ่นฟอยล์บาง ๆ ที่ไม่ได้มีความหนาเพียงพอ จึงทำได้เพียงสะท้อนความร้อนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ป้องกันความร้อน ที่จะส่งผ่านเข้ามาภายในบ้าน จึงควรใช้ฉนวนประเภทอื่นร่วมด้วยหรือเว้นช่องอากาศแผ่นสะท้อนความร้อนกับวัสดุมุงหลังคา เพราะจะทำให้ค่าความสามารถในการต้านทานความร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งข้อดีของฉนวนกันความร้อนชนิดนี้คือ หาซื้อได้ง่าย ทนต่อแรงดึง และไม่ฉีกขาดง่าย

วิธีเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนและการติดตั้ง

        สำหรับวิธีในการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อน มีเกณฑ์ในการเลือกใช้คือดูจากค่า R (Resistivity) คือค่าต้านทานควานร้อน และค่า K (K-value / Conductivity) ที่เป็นค่าการนำความร้อน โดยเจ้าของบ้านควรเลือกวัสดุมรามีค่า R สูง และค่า K ต่ำ เพื่อปกป้องบ้านไม่ให้ความร้อนเข้าตัวบ้านได้ หรือเข้าได้น้อยที่สุด

 

รูปแบบการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน

      1. การติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน สำหรับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานนนั้น จะเป็นการหน่วงความร้อนไม่ให้ลงมายังห้องด้านล่าง โดยพื้นที่ระหว่างใต้หลังคาควรมีช่องระบายอากาศด้วย เพื่อถ่ายเทความร้อนไม่ให้สะสมมากจนเกินไป 

      2. การติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ฉนวนกันความร้อนชนิดใต้หลังคาเป็นฉนวนกันความร้อนประเภทที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดีที่สุด เพราะสามารถกันความร้อนที่จะเข้าสู่บ้านตั้งแต่ด้านบน ซึ่งความร้อนจะไม่สะสมอยู่ที่ใต้หลังคา แต่การติดฉนวนกันความร้อนชนิดนี้จะมีข้อจำกัดเช่นกัน คือจำเป็นที่จะต้องติดตั้งฉนวนพร้อมกับหลังคาตั้งแต่แรก หากต้องการใช้ฉนวนกันร้อนประเภทนี้ อาจต้องรื้อหลังคาใหม่หรือใช้เป็นฉนวนกันความร้อนแบบโฟมฉีดพ่น

      3. การติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนบนหลัง การติดฉนวนกันความร้อนประเภทนี้จะเป็นแบบสีสะท้อนความร้อน ซึ่งจะช่วยสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา แต่มีข้อแนะนำคือควรใช้ควบคู่ไปกับฉนวนกันความร้อนชนิดอื่น เพราะหากเกิดคราบสกปรกบนผิวหลังคา จะทำให้ประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนลดลงนั่นเอง

       เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับไอเทมให้บ้านเย็นขึ้นอย่างฉนวนกันความร้อนทั้ง 5 แบบ และรูปแบบการติดตั้งฉนวนกันความร้อน ในบทความนี้ ทุกท่านสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะในเรื่องของราคา หรือความเหมาะสมของลักษณะหลังคาของท่าน หากท่านกำลังมองหาวัสดุฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งพร้อมหลังคาก็สามารถเลือกได้หลายชนิด แต่หากต้องการติดตั้งแบบที่ไม่ติดกับหลังคาก็สามารถเลือกใช้ติดตั้งบนฝ้าได้ ซึ่งในส่วนของราคาก็มีให้เลือกหลายเรตราคา แต่ไม่ว่าจะเป็นฉนวนกันความร้อนชนิดไหนก็อย่าลืมนึกถึงสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง นั่นคือ “บ้าน” นั่นเอง

       นอกจากการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน ที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการ และงบประมาณในการก่อสร้างของท่านแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก่อนที่จะมีบ้านก็คือแบบบ้านนั่นเอง หากท่านต้องการสร้างบ้านด้วยงบประมาณที่กำหนด และไม่ต้องการให้งบการก่อสร้างบานปลาย ก็สามารถเลือกดูแบบบ้านสำเร็จรูปของเราได้ก่อน เพราะแบบบ้านสำเร็จรูปทุกหลังของเราเป็นแบบบ้านที่ได้มาตรฐาน มีการกำหนด BOQ และได้รับการเซนต์แบบจากวิศวกรมาแล้วทุกหลัง ทำให้ท่านมั่นใจได้ว่าบ้านของท่านจะสร้างได้ด้วยความปลอดภัย ในราคาที่คาดการณ์เอาไว้ได้

Button Table
ดูแบบบ้านเพิ่มเติม ติดต่อเรื่องแบบบ้าน

       เว็บไซต์แบบบ้านสำเร็จรูป รวมแบบบ้านสำเร็จรูปพร้อมสร้างหลากหลายสไตล์ ให้ท่านได้เลือกตามความต้องการ ทั้งแบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์โมเดิร์น แบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์ปั้นหยา แบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์มินิมอล แบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์นอร์ดิก แบบบ้านสำเร็จรูปสไตล์ทรงกล่อง แบบบ้านสำเร็จรูปประหยัดงบประมาณ พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบและมีทั้งแบบที่มีโรงจอดรถในตัว            

       สามารถค้นหาแบบบ้านสำเร็จรูปตามงบประมาณของท่านตามแบบตามสไตล์ที่ท่านต้องการ และตามแบบแปลนที่ท่านชื่นชอบ แบบบ้านสำเร็จรูปทุกหลังได้รับการออกแบบจากทีมงานมืออาชีพ พร้อมเอกสารรับรองได้ที่แบบบ้านเพื่อประชาชน